จัดฟัน ราคาเท่าไหร่?
การจัดฟัน เป็นการรักษาต่อเนื่องที่ใช้เวลารักษายาวนาน จึงเป็นการดีที่คุณจะวางแผนค่าใช้จ่ายคร่าวๆ เพื่อให้สามารถเข้ารับการดูแลจากคุณหมอได้อย่างต่อเนื่อง โดยเราจะแบ่งค่าใช้จ่ายในการจัดฟันออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันคือ
ช่วงก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน
ช่วงติดเครื่องมือและปรับเครื่องมือจัดฟัน
ช่วงหลังถอดเครื่องมือจัดฟัน
โดยในแต่ละช่วงเวลาก็จะมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน รวมทั้งคนไข้แต่ละคนก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพช่องปากของคนไข้เป็นหลัก หากคนไข้เป็นเคสที่ซับซ้อน ต้องใช้อุปกรณ์เสริมบางอย่าง หรือมีโรคร่วมอื่นๆ เช่น ฟันคุด โรคปริทันต์อักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่รากฟัน ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่มากขึ้น
1. ช่วงก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน
ราคารายการเคลียร์ช่องปาก
ขูดหินปูน = 600-1,500 บาท
อุดฟัน = 600-2,500 บาท
(ฟันที่ผุลึก หรือผุหลายด้านจะมีค่ารักษาที่แพงขึ้น)ถอนฟัน = 600-2,000 บาท
ผ่าฟันคุด = 2,500-5,000 บาท
2. ช่วงติดเครื่องมือและปรับเครื่องมือจัดฟัน
ติดเครื่องมือ
ค่าติดเครื่องมือจะขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละคลินิก บางคลินิกติดเครื่องมือฟันบนและล่างในครั้งเดียวแต่บางคลินิกจะแยกติดเครื่องมือและชำระเป็น 2 ครั้ง
ค่าติดเครื่องมือจัดฟันมีตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลายพันบาท ส่วนใหญ่ทุกคลินิกจะแจ้งราคาค่าติดเครื่องมือไว้ชัดเจนทำให้ง่ายต่อการวางแผนของคุณ
ปรับเครื่องมือ
คุณต้องปรับเครื่องมือกับคุณหมอทุกเดือน เป็นช่วงที่คุณจะได้สนุกกับการเลือกสียางโอริง (O-ring) ระบบการชำระค่าปรับเครื่องมือมี 2 แบบ คือ
แบบกำหนดระยะเวลาตายตัว
คุณจะต้องชำระค่ารักษาจนครบตามโปรโมชั่นของคลินิกนั้นๆ โดยโปรโมชั่นจะกำหนดระยะเวลาชัดเจน
เช่น 1,500 บาท x 28 เดือนข้อดีคือคุณสามารถวางแผนได้ชัดเจนว่าคุณต้องจ่ายเท่าไหร่
ข้อเสียคือถ้าคุณเป็นเคสไม่ซับซ้อน และใช้เวลาจัดฟันไม่มาก คุณก็อาจต้องจ่ายแพงกว่าที่ควรจะเป็น
รวมทั้งอาจต้องรวบจ่ายในเดือนท้ายๆ ของการจัดฟันด้วย
2. แบบไม่กำหนดระยะเวลา
การไม่กำหนดระยะเวลาหมายถึง คุณจะชำระค่าปรับเครื่องมือไปเรื่อยๆ ทุกเดือน จนกว่าจะจัดฟันเสร็จ
ข้อดีคือถ้าเคสของคุณไม่ซับซ้อน และจัดเสร็จเร็วค่าจัดฟันของคุณก็จะถูกกว่า
แต่หากเคสของคุณซับซ้อนค่าใช้จ่ายก็จะแพงขึ้น
ค่าปรับเครื่องมือต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 1,000-3,000 บ. แล้วแต่โปรโมชั่นของคลินิกนั้นๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างจัดฟัน
Bracket เหล็กติดฟัน
Bracket คือเหล็กที่ติดอยู่ที่ตัวฟัน ถ้าคุณเผลอรับประทานอาหารแข็งๆ โดยไม่ระวัง Bracket
อาจชำรุดหรือหลุดหายได้ หากคลินิกที่ใช้ Bracket เกรดดีและมีราคาสูง คุณอาจถูกเก็บค่าใช้จ่ายในการติด Bracket ใหม่
ค่าใช้จ่ายประมาณ 300-500 บ. ต่อ bracket หนึ่งตัวบางคลินิกอาจมีโควต้าติดให้ฟรี 1-3 ตัวแรก
การรักษา หรืออุปกรณ์เสริมที่จำเป็นต่อการจัดฟัน
ถ้าคุณเป็นเคสจัดฟันที่มีความซับซ้อน คุณอาจต้องใช้ตัวช่วยในการเคลื่อนฟันของคุณ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ตัวช่วยหรืออุปกรณ์เสริมเหล่านี้ไม่ได้ใช้ในทุกคน ขึ้นอยู่กับสภาพการสบฟัน และการวางแผนของคุณหมอ
คุณควรสอบถามถึงข้อบ่งชี้ ตัวเลือกและผลลัพธ์ในการรักษา รวมถึงค่าใช้จ่าย กับคุณหมอที่ดูแลคุณ
เรารวบรวมอุปกรณ์ ที่คุณหมอมักใช้บ่อยๆ ในเคสจัดฟันซับซ้อนมาให้
Raise Bite (ติดแน่น) หรือ Bite Plane (ถอดได้) – ใช้ในกรณีคุณมีฟันสบลึกมาก ทำให้เคลื่อนฟัน หรือติดเครื่องมือลำบาก
การปักหมุดจัดฟัน (Mini-Screws) มีประโยชน์หลากหลาย ใช้ในเคสที่ฟันยื่นเหยินมาก, ยิ้มเห็นเหงือกเยอะ หรือใช้เคลื่อนฟันกรามที่ปิดช่องว่างซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยการดึงฟันแบบปกติ
ยางดึงฟัน มีหลายขนาดมักใช้ในการปรับระดับการสบฟัน หรือช่วยเคลื่อนฟัน
ค่าดูแลสุขภาพช่องปากระหว่างจัดฟัน
การจัดฟันนั้นใช้เวลาโดยเฉลี่ย 18-30 เดือน ในช่วงที่มีเครื่องมือติดแน่นอยู่บนฟัน ทำให้คุณจะทำความสะอาดช่องปากได้ยากขึ้น ส่งผลให้หินปูนขึ้นเร็ว แถมฟันก็ผุง่ายอีกด้วย หากตรวจพบคุณหมอก็จะต้องรีบจัดการปัญหาเหล่านี้ไม่ให้มารบกวนการจัดฟันหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นกว่าปกติ การแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำจะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้
ค่าขูดหินปูน และอุดฟันมักมีราคาเท่ากับตอนที่เคลียร์ช่องปาก
อุปกรณ์ดูแลสุขภาพช่องปาก
Super Floss = 150-200 บ. ต่อกล่อง
แปรงซอกฟัน = 30-50 บ.
แปรงสีฟันสำหรับคนไข้จัดฟัน = 90-300 บ.
Wax จัดฟัน = 50-120บ.
ยางดึงฟัน = 30-50 บ.
3. ช่วงหลังถอดเครื่องมือจัดฟัน
ถอดเครื่องมือและทำความสะอาดฟัน
เมื่อการรักษาเสร็จสิ้น คุณหมอจะถอดอุปกรณ์จัดฟันที่เป็นเหล็กออก และทำความสะอาด รวมทั้งขัดกาวที่อยู่บนตัวฟันให้
รีเทนเนอร์
เมื่อจัดฟันเสร็จ คุณต้องใส่รีเทนเนอร์เพื่อคงสภาพฟันเอาไว้ ราคาของรีเทนเนอร์ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละคลินิก มีทั้งที่แถมให้ฟรี หรือให้ส่วนลดพิเศษ เนื่องจากรีเทนเนอร์เป็นสิ่งจำเป็น เราจึงแนะนำให้คุณสอบถามข้อมูลให้ดี รีเทนเนอร์
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
เราอยากให้คุณคิดถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย เราแนะนำให้คุณเลือกคลินิกที่อยู่ใกล้บ้าน หรือที่ทำงานที่คุณใช้งานเป็นประจำ หากคุณเดินทางด้วยรถยนต์ การมีที่จอดรถให้ฟรี ก็จะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น
การเดินทาง
Q1 : คุณสามารถเดินทางไปคลินิกได้สะดวกหรือไม่?
ลักษณะของคลินิก
Q2 : ความสะอาด
Q3 : มีเครื่องมือครบถ้วน และทันสมัย
รีวิว
Q4 : คุณได้อ่านรีวิว หรือ Testimony ของคนไข้คนอื่นที่จัดฟันอยู่ในคลินิกที่คุณหมายตาเอาไว้หรือยัง?
การบริการ
Q5 : บริการของคลินิกดีหรือเปล่า?
Q6 : พนักงานมีมารยาทและให้คำแนะนำกับคุณเป็นอย่างดี
Q7 : ทำนัดกับคุณสะดวก
Q8 : มีช่องทางออนไลน์ให้คุณติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
คุณหมอเฉพาะทาง
Q9 : คลินิกมีคุณหมอเฉพาะทางสาขาอื่นๆ หรือไม่ – อย่าลืมว่าการจัดฟัน บางครั้งต้องทำการรักษาร่วมกับทันตกรรมด้านอื่น ถ้าคุณจัดฟันในคลินิกที่มีคุณหมอทุกสาขา คุณก็สามารถมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด ไม่ว่าเคสของคุณจะซับซ้อนเพียงใดก็ตาม
ความเอาใจใส่ของคุณหมอ
Q10 : ข้อนี้คือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด คุณควรเลือกคุณหมอที่เหมาะกับคุณ คุณหมอที่คุยง่าย ไม่ดุ พูดจาสุภาพน่ารัก และให้คำแนะนำกับคุณได้ จะทำให้การจัดฟันของคุณเต็มไปด้วยประสบการณ์ที่ดี
ที่ครอบครัวฟันดี
เรามีเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเเต่ละด้านที่พร้อมดูเเลเเละให้การรักษาพร้อมให้คำปรึกษาที่ตรงจุด เครื่องมือการเเพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เพราะรอยยิ้มของคนไข้คือความสุขของเรา