วัสดุอุดฟันที่นิยมใช้กัน | มีทั้งหมดกี่แบบกันนะ?

อาการปวดฟันนับได้ว่าเป็นอาการที่ไม่มีใครอยากเจอ เพราะนั่นหมายความว่าฟันคุณอาจจะกำลังส่งสัญญาณมาเตือนว่ามีปัญหาฟันผุ ซึ่งอาจเกิดจากคุณละเลยการดูแลสุขภาพฟัน ไม่ว่าคุณจะมีอาการแบบไหน ทันตแพทย์ก็มีเทคนิคในการที่สามารถช่วยคุณได้ อย่างการอุดฟันก็ถือว่าเป็นการรักษาฟันที่เหมือนเป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหามากกว่านี้

การอุดฟัน คืออะไร?

เป็นการทดแทนโครงสร้างของฟันที่สูญเสียไป ด้วยวิธีการเติมวัสดุสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ เข้าไปที่ตัวฟัน ไม่ว่าด้วยสาเหตุเกิดจากรอยโรค ฟันผุ ฟันแตก ฟันบิ่นจากอุบัติเหตุ หรือการปรับเปลี่ยนรูปร่างฟันผุทั้งนี้ เพื่อป้องกันการดำเนินต่อของรอยโรคฟันผุ ลดอาการเสียวฟัน หรือปวดฟัน เพิ่มความสวยงามและประสิทธิภาพในการยิ้ม รับประทานอาหารและการพูดคุย รวมถึงประโยชน์ของการใช้ฟันในระยะยาว

ชนิดของวัสดุอุดฟันมีกี่แบบ?

วัสดุอุดฟัน ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. วัสดุสีเหมือนฟัน หรือ Composite Filling เป็นวัสดุอุดฟันที่มีสีคล้ายผิวฟันธรรมชาติ เป็นวัสดุที่นิยมใช้ในปัจจุบัน สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งอุดฟันหน้าและฟันกราม วัสดุอุดจะถูกปั้นแต่งลงบนฟัน ก่อนจะทำการฉายแสงกระตุ้นเพื่อให้เกิดการแข็ง

  2. วัสดุสีโลหะ หรือ Amalgam Filling เป็นวัสดุอุดฟันที่มีสีเงินของโลหะ วัสดุชนิดนี้ทำมากจากการผสมกันของปรอทและโลหะ เช่น เงิน ดีบุก ทองแดง ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะเลือกนำมาใช้อุดในตำแหน่งที่ยิ้มไม่เห็น เพราะมีสีเข้มจะมองเห็นชัดกว่าแบบวัสดุสีเหมือนฟัน

ขั้นตอนการอุดฟัน

          1. ตรวจบริเวณที่พบรอยผุ จุดบกพร่อง หรือโครงสร้างที่สูญเสียไป สอบถามผู้ป่วยถึงอาการของฟันซี่ที่จะทำการอุดฟัน นอกจากนี้ อาจทำการ X-ray ฟันซี่ดังกล่าว เพื่อประเมินสภาพของฟันและอวัยวะปริทันต์โดยรอบ

          2. วางแผนการรักษา โดยคำนึงถึงตำแหน่ง การใช้งาน ลักษณะของฟัน และความพึงพอใจของผู้ป่วย

          3. ทำการกรอแต่งฟันเพื่อเตรียมพร้อมในการอุดฟัน ถ้าหากลักษณะของโพรงฟันมีขอบเขตที่ลึกมากใกล้โพรงประสาทฟัน หรือผู้ป่วยมีอาการเสียวในขณะทำ ผู้ป่วยสามารถแจ้งทันตแพทย์ให้ใส่ยาชาเพื่อลดอาการเสียวฟันได้

          4. เมื่อรอยผุหมดแล้ว ทันตแพทย์จะทำการใส่วัสดุอุดฟันเพื่อทดแทนฟัน ถ้าเป็นวัสดุสีเหมือนฟันจะมีขั้นตอนการฉายแสงเพื่อให้วัสดุแข็งตัวเต็มที่

          5. ทำการกำจัดวัสดุส่วนเกินทางด้านบดเคี้ยว โดยการให้เคี้ยวกระดาษสีฟ้า แดง เพื่อทราบตำแหน่งที่ต้องกรอแต่งบริเวณที่มีวัสดุเกินขอบเขตทางด้านบดเคี้ยว

          6. ทำการขัดแต่งเพื่อความสวยงาม และเรียบมัน ลดการติดของเศษอาหาร และเพิ่มอายุการใช้งานของฟัน


อย่าปล่อยให้ปวด
ถ้ายังอยากอวดรอยยิ้ม


 

หากคนไข้ สนใจ ปรึกษาการอุดฟัน หรืออยากทำการอุดฟัน

คลินิกครอบครัวฟันดี ยินดีให้บริการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ข้อมูลโดย
ทพญ. กนกรัสม์ ฉันทแดนสุวรรณ

Previous
Previous

ฟอกฟันขาว | เสียวฟันจริงมั้ย?

Next
Next

จัดฟันมีกี่แบบ | คนนิยมแบบไหนมากกว่า?