สุขภาพช่องปาก | กับทันตกรรมผู้สูงอายุ
ปัญหาสุขภาพตามวัยเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่ปัญหา สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ โดยปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบประกอบด้วย ปัญหาสุขภาพเหงือก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟันได้ นอกจากนี้ ปัญหา สุขภาพช่องปาก อาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับโรคทางระบบอื่น เช่น โรคหัวจ โรคเบาหวาน ได้อีกด้วย
ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
“ฟัน” เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญในการบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ช่วยให้กลืนอาหารได้สะดวก ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการออกเสียง คำ หรือพยัญชนะบางตัวให้ชัดเจนด้วย การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญอยู่เสมอ
เนื่องจากฟันแท้ที่ถูกใช้งานเป็นประจำต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน จะเกิดความเสื่อม หรือมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงจนทำให้เกิดการสูญเสียฟัน และเกิดช่องว่างระหว่างฟันตามมาได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ที่ทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ทำได้ยากกว่าวัยอื่น ๆ และจำเป็นต้องให้ความสำคัญมาก ไม่อย่างนั้นก็อาจทำให้ปัญหาฟันลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ จนเป็นอันตรายได้นั่นเอง
ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
ปัญหาสุขภาพเหงือก เป็นปัญหาที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่อยู่รอบฟันติดเชื้อจากคราบจุลินทรีย์สะสมบนตัวฟันและร่องเหงือก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเหงือกอักเสบ โดยอาการที่พบคือ เหงือกบวม แดง หรือมีเลือดออกตามร่องเหงือก
ผู้สูงอายุอาจมีการทำความสะอาดช่องปาก รวมทั้งฟันปลอมที่ไม่ถูกวิธี หรือยังทำความสะอาดไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเกิดการสะสมของคราบหินปูนนำไปสู่การเกิด โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ รวมทั้งโรคฟันผุ ตามมาได้
โรคฟันผุ มีปัจจัยเสี่ยงคือ การมีช่องปากแห้ง การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน หากทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ
เสียวฟัน ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้คนไข้มีอาการการเสียวฟัน ได้แก่ การแปรงฟันแรงเกินไปด้วยแปรงที่มีขนแปรงแข็ง ส่งผลให้เคลือบฟันสึก เหงือกร่นหรือการมีการมีฟันบิ่นแตก รวมทั้งการมีฟันผุ ล้วนเป็นสาเหตุหลักของอาการเสียวฟันได้
ปากแห้ง ภาวะปากแห้งเกิดจากน้ำลายในช่องปากน้อยเกินไป ซึ่งมักเกิดจากผลข้างเคียงของยารักษาโรคอื่น ๆ และพบได้บ่อย ในกลุ่มผู้สูงอายุ ปัญหาซึ่งเป็นผลตามมาจากการมีภาวะปากแห้งคือ ฟันผุ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการสูญเสียฟันได้ในที่สุด
ฟันล้ม ฟันเคลื่อน เป็นอีกหนึ่งภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียฟัน แล้วไม่ได้มีการทำฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป ทำให้ฟันข้างเคียงเคลื่อน ล้มลงมายังบริเวณที่มีช่องว่างได้
แผลในช่องปาก เนื้อเยื่อในช่องปากของผู้สูงอายุจะอ่อนแอกว่าปกติ ทำให้เกิดแผลในช่องปากได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ได้รับการกระทบกระเทือนจากการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ อาหารที่แข็ง ขอบฟันที่คม หรือเป็นแผลร้อนใน เป็นต้น
ถ้าหากไม่ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจะเกิดอะไรขึ้น ?
หากไม่ดูแลสุขภาพฟันและช่องปากในผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี จะทำให้ปัญหาช่องปากต่าง ๆ ลุกลามอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียฟันเป็นจำนวนมากได้ การสูญเสียฟันจำนวนมากนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมามากมาย ทั้งสุขภาพกายและใจ เช่น ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลง ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ส่งผลเสียให้สุขภาพร่างกายย่ำแย่ในระยะยาว นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการพูด ทำให้พูดไม่ชัด รวมทั้งมีผลต่อความสวยงามอีกด้วย
ปรึกษาอาการ ทันตกรรมผู้สูงอายุ กับทันตแพทย์ของเราได้ที่นี่
วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ทันตแพทย์แนะนำ
การดูแล สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ นั้นคล้ายคลึงกับการดูแลสุขภาพช่องปากในวัยอื่น ๆ ซึ่งอาจต้องให้ความใส่ใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้
ควรแปรงฟันด้วยขนแปรงที่อ่อนนุ่ม แปรงสีฟันมีขนาดเหมาะมือ และใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ควรแปรงฟันให้ครบทุกซี่อย่างเบามือด้วยท่าทางที่ถูกต้องและถูกวิธี
ในกรณีที่มีฟันซี่ที่อยู่โดด ๆ แนะนำให้ใช้แปรงกระจุกเดียวทำความสะอาดโดยรอบตัวฟัน
ใช้ไหมขัดฟันในส่วนที่ทำความสะอาดได้ยากโดยเฉพาะตำแหน่งซอกฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดค้างอยู่ในซอกฟัน
ใช้ผ้าก็อซพับเป็นแถบขนาดเล็ก ๆ โอบเช็ดฟันด้านที่ติดกับช่องว่างที่ถอนฟันไป โดยเช็ดให้แนบชิดกับขอบเหงือก
เข้ารับการขูดหินปูน และตรวจสุขภาพฟันและช่องปากอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน
ในกรณีที่สูญเสียฟันจนมีช่องว่างระหว่างฟัน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากทำให้ฟันล้มหรือฟันเคลื่อนในระยะยาวได้ แนะนำปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวางแผนทำ ฟันเทียมทดแทน เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งก่อให้เกิดความสวยงาม
บริการ ทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ที่ คลินิกครอบครัวฟันดี เรายินดีให้บริการและรับปรึกษาทุกปัญหาช่องปาก
ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลสุขภาพในช่องปาก โดยพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ อาจจะปีละ 2-4 ครั้ง นอกจากนี้ควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือร้อนจัด ควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณจำกัด ลดการรับประทานของหวานระหว่างมื้อ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ หมั่นดูแลทำความสะอาดฟันปลอมหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อลดการสะสมของเศษอาหารและเชื้อจุลินทรีย์ หากน้ำลายน้อยแนะนำให้จิบน้ำบ่อย ๆ หากผู้สูงอายุและญาติมีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวอย่างดีแล้ว ย่อมส่งผลให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
การดูแลสุขภาพช่องปาก ควรเลือกทำกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
พร้อมด้วยเครื่องมือที่ปลอดภัย สะอาด ทันสมัย
คลินิกครอบครัวฟันดี ยินดีให้บริการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
ข้อมูลโดย
ทพญ. กนกรัสม์ ฉันทแดนสุวรรณ