Hook จัดฟัน | คืออะไร?

การจัดฟันแบบติดแน่น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “การจัดฟันลวด” เป็นการจัดฟันที่พบเห็นได้ทั่วไป การจัดฟันแบบติดแน่นที่ผู้รับบริการส่วนใหญ่นิยมกัน คือการ จัดฟันแบบโลหะ แล้วมีการล็อกลวดด้วยยางสี โดยอุปกรณ์จัดฟันมีหลายชนิด หลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นก็คือ Hook (ตะขอหรือเสา) ที่มีส่วนช่วยในการเคลื่อนที่ของฟัน ซึ่งอุปกรณ์แต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป และการทำงานไม่เหมือนกัน

Hook คืออะไร ?

เป็นส่วนที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อแบร็คเก็ตบางตัว จะมีลักษณะเหมือนตะขอยื่นออกมาจากแบร็คเก็ต ใช้สำหรับเป็นที่เกี่ยวยางรัดฟัน (O-ring) เพื่อเคลื่อนฟัน ให้ฟันเคลื่อนที่ไปตามแผนที่ทันตแพทย์ได้วางไว้ บางเคสทันตแพทย์จะใส่ให้ 2-3 Hook และส่วนใหญ่จะมี Hook ตรงฟันเขี้ยว

ภาพตัวอย่าง Hook จัดฟัน
 
 

อุปกรณ์จัดฟันพื้นฐานที่ควรรู้จัก

  • แบร็คเก็ต (Bracket) หรือเหล็กจัดฟัน เป็นอุปกรณ์ที่ติดบนตัวฟัน จะมีช่องสำหรับใส่ลวด และขอบสำหรับเกี่ยวยางจัดฟัน บางตัวจะมีฮุค (Hook) รูปร่างคล้ายตะขอไว้สำหรับเกี่ยวยางดึงฟันเพิ่มเติม

  • ยางรัดฟัน (O-ring) มีหลายสี ทำหน้าที่เป็นตัวรัดให้ลวดอยู่ในช่องของแบร็กเก็ต เพื่อให้ลวดค่อย ๆ เคลื่อนฟันไปสู่ตำแหน่งที่ต้องการ

  • เชนจัดฟัน (Chain, Power-Chains หรือ C-Chains) มีหลายสี ทำหน้าที่เคลื่อนฟันไปในตำแหน่งที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกคน ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของทันตแพทย์

  • ยางดึงฟัน (Elastic) ทันตแพทย์จะเป็นคนกำหนดตำแหน่งที่จะต้องเกี่ยวยาง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้จัดฟันอย่างมาก โดยจะต้องเกี่ยวไว้อย่างน้อย 18 ชั่วโมงต่อวัน หากดึงยางไม่สม่ำเสมอจะทำให้เวลาในการจัดฟันนานขึ้น

  • ที่ยกฟัน (Bite) มีทั้งสีฟ้า และสีเหมือนฟัน ทำหน้าที่ยกฟันให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติได้ เช่น ฟันสบคร่อม ฟันสบลึก อาจทำให้การเคี้ยวอาหารยากขึ้นในช่วงแรก ๆ ถ้าแตก หรือหลุด ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที

  • หมุดจัดฟัน (Mini screws) ใช้เป็นหลักยึดในการเกี่ยวยางในกรณีที่หลักยึดไม่เพียงพอ ทำภายใต้การใส่ยาชาเฉพาะที่ และจะเอาออกเมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อย

  • บัทตอน (Button) เป็นที่เกี่ยวยางให้บิดฟันไปในตำแหน่งที่ต้องการ ใช้ยึดติดบนตัวฟัน ลักษณะหน้าตาเหมือนกระดุม ซึ่งมีทั้งแบบที่ทันตแพทย์เป็นผู้เกี่ยวยางให้เอง และแบบที่ให้คนไข้เกี่ยวยางเอง

  • เพลทจัดฟัน (Plate) ในบางรายอาจจำเป็นต้องใส่เพลทจัดฟันเพื่อยกฟันให้ฟันบน และล่างห่างจากกัน หรือใส่ร่วมกับการใช้สกรูเพื่อขยายช่องว่างในบางตำแหน่ง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครจัดฟันลวด หรือสนใจจัดฟันแบบลวด หรือแบบติดแน่นชนิดไหน ทักมาสอบถามราคาและแพ็กเกจจัดฟันลวด จัดฟันแบบโลหะ ได้เลย คลิก

ข้อเสียของ Hook จัดฟัน

แบร็คเก็ต หรือ Hook ขูดกระพุ้งแก้ม

วิธีแก้ไขคือให้แปะก้อนขี้ผึ้งจัดฟันบนลวดที่ทิ่มหรือขูด ค่อย ๆ กดเบา ๆ เพื่อคลุมลวดหรือแบร็คเก็ต เพื่อลดความเจ็บปวด ควรเอาขี้ผึ้งออกก่อนทานอาหารหรือแปรงฟัน และทิ้งขี้ผึ้งที่ใช้แล้วทันที อ่านต่อเพิ่มได้ได้ที่>>

ลักษณะของฟันที่ควรได้รับการจัดฟัน

ปัญหาของฟันมีหลายรูปแบบ แต่ละคนก็จะมีปัญหาแตกต่างกันออกไป ซึ่งปัญหาของการสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusions) ควรได้รับการรักษาด้วยการจัดฟัน สามารถแบ่งได้ตามนี้

  • ฟันยื่น (Protruded) แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • ฟันหน้าบนยื่นหรือฟันเหยินลักษณะที่ฟันบนคร่อมฟันล่าง ซึ่งยื่นออกมาด้านหน้ามากเกินไป จนทำให้ปากอูม ทำให้การสบกันของฟันผิดปกติ มักเกิดจากปัญหาการเรียงตัวของฟันหรือแนวกราม หากมีฟันหน้าบนยื่นออกมามาก อาจทำให้ฟันหน้าล่างกัดเหงือกจนเป็นแผลได้

  • ฟันหน้าล่างยื่นเป็นลักษณะฟันล่างคร่อมฟันบน ผู้ที่มีปัญหาฟันล่างยื่นใบหน้าจะดูคางยื่น บางรายอาจมีปัญหาใบหน้าไม่เท่ากัน หรือเบี้ยวไปด้านใดด้านหนึ่ง เกิดการสบกันของฟันที่ผิดปกติ ในกรณีที่ฟันล่างยื่นออกไปมาก ๆ อาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันบนกับฟันล่าง จนส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารได้ รวมถึงความสวยงาม

  • ฟันซ้อน (Crowding) หมายถึงลักษณะของฟันที่เรียงไม่เป็นระเบียบ อาจซ้อนกันทั้งข้างนอกและข้างใน ซึ่งอาจเกิดจากสภาวะที่ฟันแท้ขึ้นมาในขณะที่ฟันน้ำนมยังไม่หลุด ทำให้ฟันแท้ขึ้นมาซ้อนฟันน้ำนม หรือฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลาอันควรไปนาน จนทำให้เกิดปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ไม่สวยงาม ฟันเบียดเกทับกัน ผู้ที่มีฟันซ้อนกันอาจะเป็นที่สะสมของเศษอาหาร ทำความสะอาดยาก เกิดมีกลิ่นปาก เสี่ยงที่จะเป็นโรคเหงือกอักเสบ และอาจจะเกิดฟันผุตามมาได้ และแน่นอนว่าทำให้ยิ้มไม่สวย

  • ฟันห่าง (Spacing) เป็นลักษณะที่มีระยะห่างหรือช่องว่างระหว่างฟันที่มากกว่า 0.5 มิลลิเมตร สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นฟันหลุด หรือฟันขึ้นไม่เต็มอาจเกิดร่วมกับฟันยื่น ผู้ที่มีฟันห่างจะทำให้พูดไม่ชัด เวลาพูดมีน้ำลายกระเด็น เมื่อรับประทานอาหารจะมีเศษอาหารจะเข้าไปติดอยู่ตามซอกฟัน และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ ตามมาได้ เช่น เหงือกอักเสบ คราบหินปูน และฟันผุ

  • ฟันสบลึก (Deep bite) เกิดจากลักษณะของฟันหน้าบน คร่อมปิดฟันหน้าล่างจนมากเกินไป จนไม่เห็นฟันล่าง ในกรณีที่ฟันสบลืกมากๆ จนทำปลายฟันหน้าล่าง ชนโคนฟันหน้าบนด้านในไปเรื่อย ๆ พอนานเข้าก็ทำให้ฟันสึก เจ็บ เสียวฟัน สร้างความเสียหายให้กับเหงือกและรากฟันหน้า จนต้องรักษารากฟันได้ และอาจก่อให้เกิดภาวะเจ็บข้อต่อขากรรไกรได้

  • ฟันสบเปิด (Open bite) เกิดจากลักษณะของปลายฟันบนและปลายฟันล่างมีระยะห่างออกจากกัน เมื่อกัดฟัน ทำให้มีปัญหาระหว่างรับประทานอาหาร กัดอาหารไม่ขาด ออกเสียงบางคำไม่ชัดเจน ในกรณีที่มีฟันสบเปิดมาก เมื่อยิ้มแล้วจะเห็นเป็นโพรง เหมือนอ้าปากตลอดเวลา ทำให้เสียบุคลิกภาพ ยิ้มแบบไม่มั่นใจ

  • ฟันกัดคร่อม (Crossbite) เป็นลักษณะของฟันบนกับฟันล่างที่ไม่สามารถขบได้พอดี หรือเมื่อเวลาขบกัดฟันบนกับฟันล่างจะไม่ตรงกัน มีลักษณะขบแบบไขว้ สลับกันไปมา ไม่สมดุล ทำให้การขบเคี้ยวอาหารได้ไม่เต็มปากเต็มคำ ไม่สามารถใช้ฟันหน้ากัดอาหารได้ตามปกติ และอาจทำให้ไม่สามารถออกเสียงคำบางคำได้ชัดเจน หากเป็นมากอาจมีใบหน้าเบี้ยวร่วมด้วย

  • ฟันกัดเบี้ยว (Midline shift) เป็นลักษณะของฟันที่อาจเกิดจากขากรรไกรเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากกว่า ส่งผลให้เส้นกึ่งกลางของฟันบนและฟันล่างไม่ตรงกัน หรือไม่มีความสมดุล ทำให้การบดเคี้ยวอาหารทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ


ทุกปัญหาฟัน จะได้ใส่ Hook หรือตะขอเกี่ยวยางรัดฟัน ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ ไม่ใช่คนไข้ทุกคนจะได้ใส่เหมือนกัน


 

คลินิกครอบครัวฟันดี ยินดีให้บริการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ข้อมูลโดย
ทพญ. กนกรัสม์ ฉันทแดนสุวรรณ

Previous
Previous

จัดฟันเสร็จ | อย่าลืมใส่รีเทนเนอร์

Next
Next

วิธีแปรงฟัน | สำหรับคนจัดฟัน หินปูนหายเกลี้ยง