เหงือกอักเสบ | ต้องรีบรักษา

เหงือก คืออะไร?

เหงือก เป็นเนื้อเยื่ออ่อนที่ล้อมรอบและรองรับฟันในปาก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีเส้นใยหนาแน่น และปกคลุมด้วยชั้นเซลล์เยื่อบุบาง ๆ ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่เป็นอันตรายบุกรุกเข้าสู่ร่างกาย


เหงือกอักเสบ เป็นอาการผิดปกติในช่องปากที่พบได้บ่อย อาการบวมเกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง มักจะแสดงออกในลักษณะของการอักเสบ บวม แดง มีเลือดออกได้ง่าย และอาจมีอาการเจ็บหรือมีกลิ่นปากเกิดขึ้นร่วมได้

เหงือกอักเสบ

สุขภาพเหงือกมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสุขภาพโดยรวมของคุณ เหงือกที่มีการอักเสบสามารถนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน การรักษาสุขอนามัยช่องปากให้ดี รวมถึงการตรวจสุขภาพฟันและ ขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญมาก

สาเหตุของเหงือกอักเสบ  มักเกิดจากการสะสมของหินปูน และแผ่นคราบจุลินทรีย์บนฟัน ซึ่งอาจเกิดจากการแปรงฟันได้ไม่ทั่วถึงในบริเวณดังกล่าว ขาดการใช้ไหมขัดฟัน หรือ ขาดการดูแลทำความสะอาดฟันด้วยการขูดหินปูนเป็นประจำสม่ำเสมอ เป็นต้น                          

ในกรณีที่ปล่อยเหงือกอักเสบทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่รักษา อาจพัฒนาไปสู่การเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ส่งผลต่ออวัยวะปริทันต์อันได้แก่ เหงือก เอ็นยึดรากฟัน กระดูกเบ้าฟัน และเคลือบรากฟันเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ได้รับความเสียหายอย่างถาวรตามไปด้วย ซึ่งนำไปสู่การเกิดเหงือกร่น การอักเสบเป็นหนองและการโยกของฟัน จนอาจจะต้องถอนฟันร่วมด้วยก็เป็นได้

รักษา เหงือกอักเสบ
 

การรักษาเหงือกอักเสบ

  โดยทั่วไปสามารถทำได้โดยการขูดหินปูนอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง  (ทุกๆ 6-12 เดือน) ในกรณีที่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นจนพัฒนาสู่การเป็นโรคปริทันต์อักเสบ อาจจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาด้วย X-ray และเกลารากฟันร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการอักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากทันตแพทย์โดยตรง นอกจากนี้แล้วยังสามารถดูแลสุขภาพเหงือกได้ ง่าย ๆ โดยการ

  • แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม

  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งหลังแปรงฟัน


ปรึกษาทุกเรื่องสุขภาพช่องปาก

 

การรักษาและดูแลฟันที่ดี ควรเลือกทำกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
พร้อมด้วยเครื่องมือที่ปลอดภัย สะอาด ทันสมัย


คลินิกครอบครัวฟันดี ยินดีให้บริการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ข้อมูลโดย
ทพญ. กนกรัสม์ ฉันทแดนสุวรรณ

Previous
Previous

ขูดหินปูนพร้อมสปาฟัน Airflow คืออะไร?

Next
Next

ผงขัดฟันสีชมพู | คุณหมอใช้ทำอะไรนะ?