ทันตกรรมสำหรับเด็ก | ทำฟันเด็ก มีอะไรบ้าง?

อีกหนึ่งปัญหากวนใจ ที่ทำให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่ต้องกุมขมับกันเลยทีเดียว เมื่อลูกน้อยมีปัญหาช่องปาก ก็ยากที่จะรับมือกับความเจ็บปวด ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งทันตกรรมสำหรับเด็ก เพราะทันตแพทย์จะให้คำปรึกษา ดูแลรักษา ป้องกันปัญหา สุขภาพช่องปากและฟันแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 ปี ได้

การรักษาฟันเด็ก เป็นสิ่งที่คุณพ่อแม่ทุกคนจะต้องทำให้ถูกต้อง เพราะคุณพ่อคุณแม่ทุกคนคาดหวังอยากจะให้ลูกมีสุขภาพฟันที่ดีและแข็งแรง เพราะฉะนั้น หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือต้องหมั่นพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีสำหรับลูก

ทำไมต้องมีทันตกรรมสำหรับเด็ก?

เพราะเด็กยังมีระบบฟันที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรง จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งยังมีโอกาสเกิด ฟันผุ เนื่องจากนิสัยการกินของเด็กโดยทั่วไปมีความเสี่ยงและเด็กแต่ละคนยังมีนิสัยที่แตกต่างกันไปเฉพาะบุคคลอีกด้วย

ทันตแพทย์สำหรับเด็กมีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาช่องปากตั้งแต่ทารกไปจนถึงวัยรุ่น โดยทันตแพทย์สำหรับเด็กจะได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี รวมไปถึงการให้การรักษาเชิงป้องกัน การรักษาฟื้นฟู เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะมั่นใจได้ว่า การเติบโตและพัฒนาการของลูกนั้นเป็นไปตามปกติ

สำหรับ ทันตกรรมสำหรับเด็ก เราเชื่อว่าการป้องกันโรคในช่องปากตั้งแต่ระยะต้น ๆ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เราจึงเน้นไปที่การป้องกันฟันผุ ผ่านการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอาการฟันผุในแต่ละบุคคล เราจะให้คำแนะนำวิธีป้องกันที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละคน รวมไปถึงความสะอาดในช่องปากที่สามารถเริ่มได้จากที่บ้าน การใช้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเคี้ยวผิวฟัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นการรักษาเชิงป้องกันทั้งสิ้น

เป้าหมายของคลินิกครอบครัวฟันดี คือ การสร้างรอยยิ้มที่สดใสแข็งแรงให้อยู่กับลูกคุณตราบนานเท่านาน ยิ่งคุณใส่ใจสุขภาพฟันของเด็ก ๆ เร็วเท่าไหร่ พวกเขาก็จะมีรอยยิ้มที่สวยงามและแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น เด็ก ๆ จะสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้อง พูดออกเสียงได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ฟันน้ำนม ยังเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพฟันแท้ที่ดีด้วย โดยทั่วไปแล้วหาก ฟันน้ำนม นั้นแข็งแรง ฟันแท้ที่จะขึ้นต่อมาก็มีแนวโน้มจะแข็งแรงเช่นเดียวกัน

ฉะนั้นแล้วการมีรอยยิ้มที่สวยงามตลอดชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้หากได้รับการดูแลจากทันตแพทย์ตั้งแต่เด็ก ๆ

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง?

1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

  • ทันตแพทย์จะ X-ray เพื่อตรวจเช็กสุขภาพช่องปากภายในที่ไม่สามารถตรวจได้ด้วยตา ซึ่งจะเห็นความเป็นไปได้ของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในช่องปากของเด็กในอนาคต

  • หากเด็กมีอายุ 6 เดือน – 2 ปี ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดช่องปาก ตั้งแต่การใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดฟัน เหงือกและลิ้น การเลือกแปรงสีฟันและไหมขัดฟัน การเลิกขวดนมมื้อดึก รวมถึงการเลือกอาหารว่างที่เหมาะสมกับวัย

  • หากเด็กมีอายุ 3 – 6 ปี ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปากโดยมีผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด และวิธีการป้องกันฟันผุในฟันน้ำนม

  • หากเด็กมีอายุ 7 – 12 ปี ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปากด้วยตัวเอง วิธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อฟันหน้าแท้ รวมถึงวิธีป้องกันฟันผุในฟันกรามแท้

2. รักษาฟันด้วยฟลูออไรด์

ทันตแพทย์จะเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุและเสริมสร้างความแข็งแรงของฟันตามประเภทของฟลูออไรด์ ทั้งฟลูออไรด์เจลและฟลูออไรด์วานิช โดยทันตแพทย์จะแปรงฟันหรือขัดฟันของเด็กให้สะอาด จากนั้นเลือกขนาดถาดฟลูออไรด์ให้เหมาะกับชุดฟันของเด็ก จากนั้นให้เด็กกัดถาดเอาไว้เพื่อเคลือบฟลูออไรด์

3. เคลือบหลุมร่องฟัน

ทันตแพทย์จะทาน้ำยาเคลือบหลุมร่องฟันของผิวฟัน ด้านบดเคี้ยวเพื่อช่วยให้เราทำความสะอาดฟันได้ทั่วถึง และลดความเสี่ยงการเกิดฟันผุ อีกทั้งช่วยลดปัญหาฟันสำหรับเด็กที่มีภาวะฟันสึกหรือมีร่องฟันลึกด้วย

4. อุดฟันน้ำนม

เนื่องจากเด็กเป็นช่วงวัยที่ดูแลสุขภาพช่องปากไม่ทั่วถึง ทันตแพทย์จึงต้องอุดฟันน้ำนมโดยซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุ เพื่อให้ฟันน้ำนมที่เสื่อมง่ายกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยมีวัสดุที่ใช้อุด 3 ประเภท ได้แก่ อุดฟันน้ำนมด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน วัสดุอมัลกัม และวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์

5. ครอบฟัน

ทันตแพทย์จะครอบฟันเพื่อรักษาฟันที่แตกหักหรือบิ่น โดยใช้วัสดุเลียนแบบซี่ฟันธรรมชาติ สวมครอบฟันที่เสียหายลงไปทั้งซี่ วัสดุที่ใช้อาจทำจากโลหะล้วนทั้งซี่ ด้วยวัสดุเซรามิคล้วน หรือผสมระหว่างโลหะและเซรามิค เพื่อให้ฟันแข็งแรงและสวยงาม

6. รักษารากฟันน้ำนม

ทันตแพทย์จะรักษารากฟันโดยการตัดเนื้อเยื่อ ที่อักเสบอยู่ใจกลางฟันเพื่อทำความสะอาด เพื่อรักษาบริเวณโพรงประสาทฟันให้กลับเข้าสู่ภาวะปลอดเชื้อ ร่วมกับการอุดฟันหรือใส่ครอบฟันเพื่อรักษาตำแหน่งฟันน้ำนม ให้อยู่ในช่องปากจนกว่าจะหลุดออกเองตามเวลาที่เหมาะสม

7. ถอนฟัน

ทันตแพทย์จะถอนฟันน้ำนมของเด็กที่ใกล้หลุด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เล่นกีฬา ทานอาหาร นอน ทั้งนี้อาจใส่เครื่องมือกันช่องว่าง (Space Maintainer) เพื่อป้องกันปัญหาฟันตามมาในกรณีที่ถอนฟันบางซี่ออกก่อนเวลาอันควร

8. จัดฟันทันตแพทย์จะจัดฟันให้เด็กในกรณีที่เด็กมีปัญหาฟัน ดังต่อไปนี้

  • ฟันหน้ายื่นผิดปกติ

  • คางยื่น

  • ฟันเก

  • ฟันซ้อน

  • ฟันห่าง

  • ฟันสบกันผิดปกติ

ข้อดีของการรักษาฟันเด็ก

เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้นในช่องปากแล้ว การดูแลรักษาฟันเด็กให้ดีตั้งแต่ยังเป็นฟันน้ำนม จะช่วยทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการรักษาฟันตัวเองและไม่กลัวหมอฟัน ซึ่งการมีฟันน้ำนมไว้เคี้ยวอาหารจะช่วยไม่ให้มีปัญหาในการพูดหรือการบดเคี้ยว และการขึ้นมาของฟันแท้ในอนาคตต่อไป นอกจากนี้หากเด็กมาพบทันตแพทย์เป็นประจำ ก็จะช่วยลดโอกาสของการเกิดฟันผุในฟันแท้ ทำให้เป็นฟันแท้ที่แข็งแรง และยังช่วยประหยัดค่าทำฟันได้อีกมาก ถ้าเด็กสามารถเรียนรู้ที่จะรักษาฟันเองเบื้องต้นร่วมกับการดูแลของผู้ปกครองได้

ทันตกรรมเด็ก

แนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพฟันเด็ก

  • หลังรับประทานอาหาร หากเป็นเด็กเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือยังไม่ถึงสองขวบ ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเพื่อนำไปเช็ดฟัน และกระพุ้งแก้มให้เด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและก่อนนอน

  • เมื่อเด็กมีฟันเริ่มขึ้นหลายซี่แล้ว ควรแปรงฟันให้เด็กด้วยแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือสอนเด็กแปรงฟันด้วยตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องแปรงซ้ำจนกว่าเด็กอายุประมาณ 6-7 ขวบ เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ควรแปรงฟันให้เด็กหลังรับประทานอาหารเสริม หากเด็กกินนมผงก็ไม่ควรเลือกรสหวาน

  • ในการเลือกอาหารว่าง ควรจะเลือกอาหารที่มีประโยชน์อย่างพวกผลไม้ แทนขนมหวาน หรือขนมขบเคี้ยวทั้งหลาย

  • หมั่นตรวจ และสังเกตฟันเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูเหงือก และฟันว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หากพบคราบสกปรกให้ค่อย ๆ เช็ดหรือแปรงออก

  • หากพบว่าเด็กมีฟันสีขาวขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือมีรูที่คาดว่าน่าจะเป็นฟันผุ ควรรีบพาเด็กเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก

 

ทันตกรรมสำหรับเด็ก ควรเลือกทำกับคลินิกและทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีประสบการณ์ พร้อมด้วยเครื่องมือที่ปลอดภัย สะอาด ทันสมัย

คลินิกครอบครัวฟันดี ยินดีให้บริการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ข้อมูลโดย
ทพญ. กนกรัสม์ ฉันทแดนสุวรรณ

Previous
Previous

จัดฟันแล้วมีกลิ่นปาก | วิธีดูแลฟันหลังจัดฟัน

Next
Next

ฟอกสีฟัน | ฟอกฟันขาวคืออะไร?