ฟันคุด | อายุเท่าไหร่ถึงต้องผ่า

สงสัยกันไหมว่าฟันคุดเกิดขึ้นตรงไหน แล้วอายุเมื่อไหร่ที่ต้องผ่า

ฟันคุด เป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะมีกระดูก เหงือกมาปิดขวาง หรือเอียงไปชนฟันข้างเคียง โดยฟันคุดมักจะพบที่ตำแหน่งฟันกรามซี่ในสุด หรือบางครั้งเกิดบริเวณตำแหน่งของฟันเขี้ยว หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจมีอาการปวด และสร้างความรำคาญได้ หากไม่ตัดสินใจผ่าฟันคุดออก จะเกิดปัญหาและเป็นอันตรายได้

ช่วงอายุที่เหมาะสมในการผ่าฟันคุด 16-20 ปี  เพราะช่วงนี้รากฟันยังเจริญไม่เต็มที่ ยาวประมาณ 1/2 - 2/3 ของรากฟัน กระดูกที่ปกคลุมฟันคุดยังไม่แข็งมากนัก ทำให้ง่ายต่อการกรอกระดูกและตัดฟัน ช่วยลดผลเสียที่จะเกิดกับเนื้อเยื่อของฟันกรามซี่ที่อยู่ข้างเคียงลดปัญหาการเกิดอาการแทรกซ้อน จากรากฟันดันเบียดเส้นประสาท หรือ โพรงจมูก และยังเป็นวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง มักจะไม่มีโรคประจำตัว มีการซ่อมแซมร่างกายดี แผลผ่าตัดจะหายได้เร็ว กระดูกสร้างตัวได้เร็ว โดยไม่ค่อยมีปัญหาแทรกซ้อน หรือมีเพียงก็เล็กน้อย

ไม่ผ่าฟันคุด มีโอกาสทำให้เกิดอันตรายได้

1.ทำให้มีการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟันคุด เนื่องจากมีเศษอาหารไปติดตรงฝาเหงือกที่มาคลุมฟันคุด ร่วมกับมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เหงือกอักเสบ ปวด บวมแดง

2. ทำให้ฟันข้างเคียงผุ จากการที่ฟันคุดไปดันฟันข้างเคียง และเศษอาหารติดตรงซอกฟันที่เบียดกัน ผู้ป่วยจะทำความสะอาดได้ยาก

3.อาจทำให้มีอาการปวดฟัน หรืออาจมีอาการปวดลุกลามไปยังศรีษะได้

ทำไมต้องรักษาด้วยการผ่าฟันคุด

ฟันคุดเป็นฟันที่มีเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางอยู่ หรืออาจมีทิศทางการขึ้นที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติ ทำให้ไม่สามารถใช้คีมจับถอนได้อย่างฟันปกติ จึงต้องใช้วิธี ผ่าเหงือก ตัดกระดูก และแบ่งฟันออกทีละชิ้น จึงสามารถเอาฟันคุดออกมาได้ทั้งหมด โดยไม่ทำอันตรายต่อฟันข้างเคียง หรือเนื้อเยื่อสำคัญที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น

ดังนั้น ผู้ที่มีอายุในช่วง 16-20 ปี ควรได้รับการตรวจว่ามีฟันคุดในช่องปากหรือไม่ และควร X-ray ดูตำแหน่งของฟันคุดว่ามีลักษณะอย่างไร ควรผ่าฟันคุดหรือไม่ เพื่อทันตแพทย์จะได้วางแนวทางในการรักษาต่อไป


การรักษาฟันคุดจึงควรเลือกรักษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ พร้อมด้วยเครื่องมือที่ปลอดภัย สะอาด ทันสมัย

ทางคลินิกครอบครัวฟันดี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ข้อมูลโดย
ทพญ. กนกรัสม์ ฉันทแดนสุวรรณ, กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณะสุข

Previous
Previous

จัดฟันแบบ invisalign | ทำไมถึงนิยมในปัจจุบัน?

Next
Next

ฟันผุ อันตราย | รู้ไวรักษาก่อน